
การศึกษาในสหรัฐอเมริกาแต่ละรัฐจะควบคุมคุณภาพ การเรียนการสอน และวางแผนการศึกษาของตนเอง โดยไม่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลกลาง ทุกรัฐจะมีหน่วยงานการศึกษาคล้ายกระทรวงศึกษาธิการที่คอยกำหนดมาตรฐานต่างๆ แนะนำเงินงบประมาณอุดหนุนให้โรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย จากเงินภาษีที่เก็บได้จากประชาชนในแต่ละรัฐ การศึกษาภาคบังคับ นักเรียนอเมริกันทุกคนจะเรียนฟรีไม่ว่าจะอยู่ที่รัฐใดจนจบชั้นมัธยมศึกษา หรือ Grade 12 สำหรับนักเรียนจากประเทศไทย ที่ต้องการเรียนในระดับประถมและมัธยมศึกษาที่อเมริกาจะสมัครเข้าเรียนได้ในโรงเรียนเอกชนเท่านั้น เพราะสหรัฐอเมริกาจะไม่ออกวีซ่าให้นักเรียนไทยที่ได้ I-20 จากโรงเรียนระดับประถมและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนของรัฐที่เรียกว่า Public School เพราะสงวนไว้ให้กับเด็กอเมริกัน การเรียนในระดับมหาวิทยาลัยจะมีข้อแตกต่าง คือ ถ้านักเรียนที่มีถิ่นฐานในรัฐหนึ่ง จะข้ามมาศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยอีกรัฐหนึ่ง จะต้องเสียค่าเล่าเรียนแพงขึ้น ที่เรียกว่า Out of States Tuition และถ้านักศึกษามาจากประเทศอื่น จะต้องเสียค่าเล่าเรียนแพงมากขึ้นไปอีก
ระบบการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา แบ่งเป็นระดับต่าง ๆ ได้ดังนี้
1. ระดับอนุบาล ( Kindergarten) การศึกษาระดับนี้ ไม่ใช่การศึกษาภาคบังคับ
2. ระดับประถมศึกษา (Elementary School) เป็นการศึกษาภาคบังคับ สำหรับเด็กอายุ 6 – 11 ปี มีระยะเวลาการศึกษา 6 ปี (ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงประถม 6)
3. ระดับมัธยมศึกษา (Secondary School) เป็นการศึกษาภาคบังคับ สำหรับเด็กอายุ 12 – 18 ปี (มัธยมปีที่ 1-6) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
3.1 โรงเรียนรัฐบาล นักเรียนทุนส่วนตัว มีสิทธิ์เรียนได้เป็นเวลา 1 ปี เท่านั้น
3.2 โรงเรียนเอกชน มี 3 รูปแบบ
1) Independent School หรือ Prep. School เพื่อเตรียมนักเรียนเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี
2) Parochial School โรงเรียนศาสนาโรมันคาร์ธอลิค
3) Bible School หรือ Christian School สอนศาสนาควบคู่กับวิชาการ
4. ระดับอุดมศึกษา การศึกษาในระดับนี้ แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
4.1 วิทยาลัย 2 ปี (Junior College) เป็นหลักสูตร 2 ปีต่อจากมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรการสอนมี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1) Transferable Program ผู้เรียนสามารถโอนหน่วยกิตไปเรียนต่อปีที่ 3 ของวิทยาลัย หรือ มหาวิทยาลัย เพื่อศึกษาต่อจนจบปริญญาตรีได้
2) Terminal/Occupational Program เป็นหลักสูตร 2 ปี เน้นทางวิชาชีพ ความสามารถในงานเทคนิค และงานกึ่งวิชาชีพ สำเร็จแล้วได้รับอนุปริญญา
4.2 วิทยาลัยประจำท้องถิ่น (Community College) เป็นหลักสูตร 2 ปีต่อจากมัธยมศึกษาตอนปลาย มีแบบแผนเดียวกับ Junior College เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น
4.3 วิทยาลัย (College) หลักสูตร 4 ปี สำเร็จแล้วได้รับปริญญาตรี บางแห่งเปิดสอนถึงระดับปริญญาโท
4.4 มหาวิทยาลัย (University) เปิดสอนระดับปริญญาตรี (4 ปี) ปริญญาโท (1 – 2 ปี) และปริญญาเอก (4 ปี) เน้นการสอนและการค้นคว้าวิจัยในแง่วิชาการ
4.5 สถาบันทางวิชาชีพ เป็นสถาบันทางวิชาชีพชั้นสูงโดยเฉพาะ เช่น แพทยศาสตร์ กฎหมาย เป็นต้น หลักสูตร 3-8 ปี แล้วแต่สาขาวิชา โดยปกตินักศึกษาจะเข้าศึกษาหลังจากที่สำเร็จปริญญาตรีมาแล้ว
ภาคการศึกษา
สถานศึกษาในสหรัฐอเมริกาใช้ภาคการศึกษาหลายแบบแตกต่างกันออกไปขึ้นกับความต้องการของสถานศึกษา และความนิยมของท้องถิ่น ได้แก่
1. ระบบ Semester แบ่งเป็น 2 Semester ๆ ละ 16 – 18 สัปดาห์ และอาจมี 1 หรือ 2 summer session
- Fall Semester เปิดประมาณกันยายนถึงกลางธันวาคม
- Spring Semester เปิดประมาณมกราคมถึงกลางเมษายน
- Summer Semester เปิดประมาณกลางพฤษภาคมถึงสิงหาคม
2. ระบบ Trimester แบ่งเป็น 3 เทอม ๆ ละ 3 เดือน
- First เปิดประมาณกันยายนถึงธันวาคม
- Second เปิดประมาณมกราคมถึงเมษายน
- Third เปิดประมาณพฤษภาคมถึงสิงหาคม
3. ระบบ 4-1-4 แบ่งภาคเรียนเป็น 2 เทอม (Semester) เทอมละ 15 สัปดาห์ คั่นด้วยเทอมสั้น ๆ เรียกว่า Mini-term หรือ Interim เทอมสั้นนี้ มีระยะเวลาเรียน 1 เดือน
- Fall เปิดประมาณกันยายนถึงธันวาคม
- Mini-term หรือ Interim เปิดประมาณมกราคม ( 1 เดือน )
- Spring เปิดประมาณกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม
การสมัครเข้าศึกษา
น้องๆที่ต้องการไปศึกษาต่อสหรัฐอเมริกา ควรเตรียมตัวล่วงหน้าประมาณ 1 ปี การติดต่อสถานศึกษานั้น น้องๆสามารถดำเนินการได้เอง โดยขอใบสมัครไปที่ Office of Admission ของโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย พร้อมระบุว่าต้องการสมัครเรียนต่อชั้นใดหรือสาขาใด ถ้าเป็นการสมัครระดับปริญญาโทหรือเอก ต้องเขียนขอใบสมัครไปที่ Graduate School Admissions Office หรือ Chairman ของคณะหรือแผนกที่ต้องการเรียน ในยุคนี้น้องๆสามารถสมัครผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต แต่ต้องกรอกข้อความให้ครบถ้วน และดำเนินการทุกขั้นตอนตามที่สถานศึกษากำหนด ใบสมัครจะไม่ได้รับการพิจารณา ถ้าทางสถาบันไม่ได้รับเงินค่าธรรมเนียมการสมัคร
หลังจากที่ส่งจดหมายหรือแบบฟอร์มขอใบสมัครไปยังสถานศึกษา ประมาณ 3-6 สัปดาห์ น้องๆควรจะได้รับการติดต่อกลับมาจากสถานศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่จะส่งรายละเอียด และใบสมัครหรือใบสมัครขั้นต้น (Preliminary Form) มาให้ น้องๆต้องอ่านรายละเอียดที่ส่งมา และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดและรอบคอบ โดยเฉพาะเรื่องการส่งเอกสารตามที่สถานศึกษาต้องการโดยส่งให้ถึงสถานศึกษาก่อนวันปิดรับสมัคร หรือน้องๆอาจติดต่อมาที่พี่ TONY เพื่อขอคำแนะนำและช่วยดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งการติดต่อโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย การทำเรื่องสมัคร รวมถึงทำวีซ่า ปฐมนิเทศเตรียมความพร้อมก่อนออกเดินทาง รวมถึงการดูแลตลอดทั้งโครงการจนจบการศึกษา โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มเติมนอกจากค่าใช้จ่ายที่ทางโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยเรียกเก็บเท่านั้น
เอกสารที่ต้องใช้ในการสมัครเรียน
✔️ แบบฟอร์มใบสมัครที่กรอกเรียบร้อยแล้ว
✔️ ค่าธรรมเนียมการสมัคร (Application Fee) 10-100 USD (แล้วแต่สถานศึกษาจะกำหนด) ซึ่งค่าสมัครนี้จะไม่มีการคืน ไม่ว่าจะรับหรือไม่รับนักศึกษาก็ตาม
✔️ ใบแสดงผลการเรียน (Transcript) ฉบับจริง
✔️ สถานศึกษามักต้องการผลสอบ TOEFL GRE หรือ GMAT สำหรับผู้สมัครเข้าศึกษาในระดับปริญญาโทหรือเอก ผลสอบเหล่านี้ต้องขอให้ศูนย์สอบ เช่น Education Testing Service (ETS) ส่งผลไปยังสถานศึกษาโดยตรง(รายงานผลสอบที่ส่งจากศูนย์สอบไปยังสถานศึกษานี้ เรียกว่า Official Score Report
✔️ จดหมายรับรองฐานะทางการเงิน (Financial Statement) ของผู้ปกครองจากสถาบันการเงินที่ผู้ปกครองเป็นลูกค้า อยู่ในกรณีที่เป็นนักเรียนทุน ควรมีจดหมายรับรองการรับทุนแนบไปด้วย
✔️ จดหมายรับรอง (Letter of Recommendation) 2-3 ฉบับจากอาจารย์ผู้สอนหรือผู้บังคับบัญชา
✔️ บทเรียงความประวัติส่วนตัวหรือจุดประสงค์ในการศึกษาต่อ หรืออาจจะเป็นหัวข้ออื่นๆ แล้วแต่สถานศึกษาจะกำหนด ประมาณ 300-500 คำ
เอกสารเหล่านี้ ต้องส่งทางไปรษณีย์ให้ถึงสถานศึกษาก่อนวันปิดรับสมัคร สถานศึกษาจะพิจารณาจากหลักฐานที่ส่งไป หากพอใจก็จะส่งจดหมายตอบรับเข้าเรียน หลายแห่งจะให้นักศึกษาตอบยืนยันการตัดสินใจอีกครั้งว่า จะไปเรียน ณ สถานศึกษาที่ตอบรับมานี้แน่นอนแล้ว จึงจะส่งใบตอบรับอย่างเป็นทางการที่เรียกว่า I-20 Form มาให้ เพื่อให้น้องๆนำไปใช้เป็นหลักฐานประกอบการขอวีซ่านักเรียน สถานศึกษาหลายแห่งอาจแนบรายละเอียดการลงทะเบียนเรียนมาด้วย เนื่องจากการติดต่อสถานศึกษา การสอบต่างๆ การส่งเอกสารและการพิจารณาใบสมัครใช้เวลามาก
ฉะนั้นน้องๆที่สนใจเรียนต่อที่อเมริกาควรเริ่มเตรียมการล่วงหน้าอย่างน้อยประมาณ 1 ปีก่อนกำหนดเดินทาง หรือติดต่อพี่ TONY มาได้เลยครับ พวกพี่พร้อมให้คำแนะนำ และยินดีดูแลน้องๆ ทุกขั้นตอน โดยไม่มีค่าใช้จ่ายครับ