fbpx

วิธีตรวจสอบข่าวปลอม เช็คข่าวก่อนแชร์ – ข่าวที่คุณเห็น เรื่องจริงหรือจ้อจี้

ทุกวันนี้โซเชียลมีเดียมีอิทธิพลกับเราเป็นอย่างมาก ทุกคนมีพื้นที่ของตัวเอง จะโพสต์ จะเขียน จะแชร์อะไรก็ได้ ทำให้เราที่เป็นทั้งผู้ส่งสาร และผู้รับสารต้องมีสติ และมีวิจารณญาณเป็นอย่างมากในการเสพข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะช่วงสถานการณ์ Coronavirus (COVID-19) ที่ผู้คนติดตามข่าวสารกันตลอดทุกวัน เพราะได้รับผลกระทบกันทั่วโลก ทำให้มีการแชร์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ นานา ไม่ว่าจะเป็นอาการของผู้ติดเชื้อ ตัวเลขผู้ติดเชื้อและเสียชีวิต รวมถึงยารักษาต่างๆ ไม่ว่าจะวัคซีน หรือยาสมุนไพรอย่างฟ้าทะลายโจรที่อ้างสรรพคุณว่าป้องกันเชื้อไรวัสได้ รวมไปถึงข้อมูลผิดๆ ที่แชร์ต่อ ๆ กันเต็มไปหมด เราอาจจะไปห้ามพวกที่ปล่อยข่าวปลอมไม่ได้ แต่เราเลือกได้ว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อ จะตามข่าวอะไรก็มีสติกันหน่อยนะครับ ลองไปดู เช็คก่อนแชร์ ข่าวที่คุณเห็น เรื่องจริงหรือจ้อจี้?

พี่ Tony เลยจะมาแนะนำวิธีตรวจสอบข่าวปลอม เพื่อเช็คข่าวก่อนแชร์

ตั้งสติ อย่าเพิ่งเชื่อ

บางคนพอเห็นข่าวปุ๊บ ใจด่วนเชื่อไปก่อนเลย ไม่เช็คอะไรทั้งนั้น แล้วเชื่อคนเดียวไม่พอนะ มีการแชร์ต่ออีก ทางที่ดีพอเห็นข่าวปุ๊บ ตั้งสติก่อนครับ อย่าเพิ่งเชื่อ ถึงในข่าวอาจจะมีการแคปหน้าจอนู่นนี่มาเป็นหลักฐาน แต่นี่มันยุคไหนแล้ว โฟโต้ชอปก็มี เขาจะลวง จะหลอกเราแค่ไหนก็ได้ อยู่ที่เรานี่แหละจะสตรองแค่ไหน

อย่าอ่านแค่หัวข้อข่าว

ที่เขาว่ากันว่า คนไทยอ่านหนังสือปีละไม่เกิน 7 บรรทัด ก็อาจจะจริง บางคนไม่อ่านหรอก เนื้อหาในข่าวน่ะ อ่านแค่หัวข้อข่าวปุ๊บ กดแชร์ปั๊บ เดี๋ยวๆ ใจเย็นก่อน! บางข่าวก็ชอบพาดหัวชวนให้คนสนใจ ชวนให้คนคลิ๊กเข้าไปอ่าน ถึงแม้จะเป็นเว็บข่าวที่น่าเชื่อถือแค่ไหน ก็ไม่ควรจะอ่านแค่หัวข้อข่าวนะ

ดูแหล่งที่มาก่อนเลย

ข่าวนั้นมันมาจากไหน ใครเป็นคนเขียน เอามาจากเว็บข่าวที่น่าเชื่อถือ หรือเจอบนหน้าฟีดโซเชียลมีเดียต่าง ๆ หรือมีคนแชร์กันมาอีกที ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือส่งต่อๆ กันมาในไลน์ ควรไปตรวจสอบว่าข่าวนี้มีที่มาจากไหน ถ้าไม่ได้มาจากเว็บข่าวโดยตรง ลองเอาไปเซิร์ชในอากู๋ google หรือเข้าเว็บข่าวเพื่่อหาแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ ถ้าหาแล้วไม่เจอ ก็คิดไว้ก่อนเลยว่ามันไม่จริง!

วิธีตรวจสอบข่าวปลอม

ดูรายละเอียดข่าว และองค์ประกอบอื่นๆ

นอกจากแหล่งข่าวแล้ว วันเดือนปีที่เขียนข่าวก็สำคัญไม่แพ้กัน บางข่าวอาจจะเป็นข่าวเก่าที่คนไปขุดมาแชร์ต่อๆ กันมา หรือถ้าในข่าวนั้นมีภาพ รวมไปถึงคนเขียนข่าว และเนื้อหาอื่นๆ ในข่าว อย่างการเขียน การใช้ภาษาไทยถูกต้องมั้ย สะกดผิดทุกบรรทัด หรือเขียนข่าวเป็นภาษาสก๊อยหรือเปล่า

อีกวิธีที่แนะนำ ถ้าในข่าวมีภาพประกอบ ลองเอาภาพไปเซิร์ชในกูเกิ้ลดูก่อน เพราะรูปนั้นอาจจะเอามาจากเว็บอื่น ข่าวอื่น ที่อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาข่าวเลยก็เป็นได้

ก่อนจะเอามาตั้งคำถาม หาข้อมูลด้วยตัวเองก่อน

ไม่ใช่ว่าเห็นข่าวปุ๊บ ก็กดแชร์ถามคนอื่นก่อนเลย “ข่าวนี้จริงมั้ยครับ?” มันก็ดีที่คุณตั้งคำถามก่อนที่จะเชื่ออย่างสนิทใจ แต่การแชร์แบบนั้นก็อาจจะยิ่งทำให้คนอื่นเห็นแล้วเข้าใจผิดกันได้นะ ทางที่ดีลองหาข้อมูลสักนิด อาจจะลองเซิร์ชกูเกิ้ลดู หรือลองย้อนดูในแฮชแท็ก # ที่เดี๋ยวนี้นิยมใช้กัน ก็เป็นอีกวิธีที่ง่ายและสะดวก

ถามผู้รู้

ในเมื่อมันไม่มีทางอื่นแล้ว วิธีนี้แหละดีที่สุด อาจจะถามไปตามสำนักข่าวต่างๆ หรือถามคนที่รู้จริง ผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ หรือคนที่อยู่ในที่เกิดเหตุ รับรองว่าจะได้ข้อเท็จจริงกลับมาอย่างแน่นอน

รู้ว่าปลอมก็บอกต่อด้วย

พอเช็คเสร็จแล้ว รู้แล้วว่าข่าวนั้นมันปลอม ก็อย่าลืมบอกต่อให้คนอื่นรู้กันด้วย หรือถ้าเกิดพลั้งมือแชร์ไปก่อนหน้านี้แล้ว พอรู้ว่าปลอมก็อย่าลืมกลับไปลบด้วยนะ

ลองทำกันดูครับ เพื่อที่เราจะได้ไม่ส่งสารผิดๆ ไปในโลกโซเชียล และเป็นประโยชน์ต่อตัวเองที่จะไม่ได้รับข้อมูลและข่าวสารผิดๆ ครับ

Credit : https://lifestyle.campus-star.com/

ติดต่อเรา

อาคารเดอะเทรนดี้
ห้อง 2202A เลขที่ 10/175
ซอย สุขุมวิท 13
แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา
กรุงเทพมหานคร 10110

+66(0)93-236-4553

info@tonyeducation.com

เวลาทำการ :
จันทร์-ศุกร์
09.00 – 18.00 น.

บริการสำหรับนักเรียนไทย

  • โครงการทุนนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ประเทศอเมริกา
  • เรียนซัมเมอร์ต่างประเทศ
  • ทัศนศึกษาต่างประเทศ
  • เรียนซัมเมอร์ในโรงเรียนมัธยม
  • เรียนภาษาต่างประเทศ
  • เรียนต่อมัธยมต่างประเทศ
  • เรียนต่อมหาวิทยาลัยต่างประเทศ

บริการสำหรับต่างชาติ

  • เรียนซัมเมอร์ในประเทศไทย
  • นักเรียนแลกเปลี่ยนในประเทศไทย
  • เรียนต่อมัธยมในประเทศไทย
  • เรียนต่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
  • แก๊ปเยียร์ในประเทศไทย

ติดตามข่าวสาร

top
© Tony Education 2019 -