fbpx

New Normal คืออะไร? สำคัญแค่ไหน? และจะส่งผลอะไรกับชีวิตเราบ้าง?

ช่วงนี้หลายคนคงได้ยินคำว่า New Normal ในข่าวกันมากขึ้น อาจจะสงสัยว่า เอ๊ะ ทำไมเดี๋ยวนี้คนพูดถึงคำนี้กันบ่อยจัง มันคืออะไร เกี่ยวข้องอะไรกับชีวิตเราไหม เราต้องรู้จักมันรึเปล่า

New Normal ถ้าแปลแบบตรงตัวเลยก็คือ New แปลว่าใหม่ Normal แปลว่าปกติ รวมกันแล้วแปลได้ความหมายว่า ความปกติแบบใหม่ หรือ ภาวะปกติแบบใหม่

ลองนึกง่ายๆ ว่า อะไรที่เราทำในชีวิตประจำวันเป็นปกติบ้าง เช่น กินข้าว 3 มื้อ, อาบน้ำ 2 ครั้ง, ใส่ชุดว่ายน้ำไปเที่ยวทะเล, ใส่ชุดดำไปงานศพ ทั้งหมดนี้มันคือเรื่อง “ปกติ” ที่เราคุ้นตา ที่เราเคยชินกัน

แต่ภาวะปกติแบบใหม่นี้ มันคือสิ่งที่เรามองว่า เมื่อก่อนไม่ใช่เรื่องปกติที่เขาทำกัน แต่พอมันเกิดเหตุการณ์ หรือปรากฎการณ์อะไรบางอย่างขึ้น สิ่งเหล่านั้นก็กลายเป็นเรื่องปกติไปโดยปริยาย ถ้ายกตัวอย่างที่เห็นกันชัดๆ ในยุค Covid-19 นี้เลยก็คือ การใส่หน้ากากอนามัยออกจากบ้าน เมื่อก่อนเราจะหยิบหน้ากากอนามัยออกมาใส่ก็ต่อเมื่อเราป่วยเท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้ มันคือเรื่องปกติไปแล้วที่เราต้องใส่หน้ากากอนามัยออกจากบ้าน หรือการพกเจลแอลกอฮอล์ไว้ล้างมือตลอดเวลา

คำว่า New Normal มาจากไหน?

จริง ๆ แล้ว คำว่า New Normal เป็นคำศัพท์ทางธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ ที่ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในปี 2551 ในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินของสหรัฐฯ ที่เรารู้จักกันในชื่อ วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกในปี 2551-2555

โดยปกติแล้ว วิกฤตเศรษฐกิจจะมีรูปแบบค่อนข้างชัดเจนคือ เมื่อเติบโตไปได้ระยะหนึ่งจะมีปัจจัยทำให้เกิดฟองสบู่ พอวิกฤตผ่านพ้นไปเศรษฐกิจก็จะเริ่มฟื้นตัว และกลับมาเติบโตได้อีกครั้งในเวลาไม่นาน

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ก็คือ เศรษฐกิจโลกไม่สามารถกลับไปเติบโตได้ดีแบบเดิมอีก เนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น การพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจมากเกินไปทั้งที่บางประเทศมีหนี้สาธารณะสูงมาก

เครดิตภาพจาก : https://www.marketwatch.com/

Bill Gross นักลงทุนในตราสารหนี้ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Pacific Investment Management (PIMCO) ก็เลยให้นิยามถึงสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอยลง และไม่สามารถกลับไปเติบโตได้ในระดับเดิมอีกแล้วว่า New Normal

ซึ่งตัวอย่าง New Normal เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ เศรษฐกิจของจีน เศรษฐกิจจีนขยายตัวมากกว่า 10% มาโดยตลอด แต่หลังจากมีวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ การเติบโตก็ลดลงต่อเนื่องจนถึงปี 2557 และเศรษฐกิจจีนก็ไม่เคยเติบโตเกิน 7% อีกเลย

ประธานาธิบดี สีจิ้นผิงก็เลยออกมาชี้แจงกับชาวจีนว่า ที่เศรษฐกิจจีนเติบโตเหลือแค่ 7% ไม่ได้เป็นเพราะภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่เป็น New Normal ทางเศรษฐกิจของจีนในอนาคต

หลังจากนั้น คำนี้ก็ถูกนำมาใช้ในบริบทที่กว้างขึ้น ทั้งในแง่ของวัฒนธรรม วิถีชีวิต และพฤติกรรมของคนในสังคม

ย้อนกลับไปเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ตอนที่ Social Media เริ่มเข้ามาในสังคมไทย เราเห็นพฤติกรรมที่เป็น New Normal เยอะมาก อย่างเมื่อก่อนถ้าวันไหนทีวีมีละครดัง ๆ รายการพีคๆ ทุกคนจะต้องมานั่งรอกันอยู่หน้าทีวีเพื่อรอดูรายการนั้น ๆ ครอบครัวอยู่กันพร้อมหน้ารอดูรายการสด แต่เดี๋ยวนี้ เราไม่จำเป็นต้องมานั่งรอหน้าจอทีวีแล้ว เราสามารถดูสตรีมผ่านโซเชียล ผ่านมือถือได้เลย หรือจะกลับมาดูย้อนหลังตอนที่เราว่างก็ได้

New Normal ที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้จะส่งผลอะไรบ้าง?

เนื่องจากว่ามันเป็นสิ่งใหม่ ก็เลยไม่มีอะไรที่จะชี้วัดได้เจาะจงแน่นอนว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง แต่เราขอแบ่งออกเป็น 3 หัวข้อหลักๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญหลายภาคส่วนในไทยคาดการณ์เบื้องต้นว่ามันจะเกิดขึ้น

1.พฤติกรรม

  • คนจะยังคงมี social distancing กันต่อไป ทั้งในแง่ของร่างกายและจิตใจด้วย ความเชื่อใจกันที่เคยแสดงออกมาผ่าน Human Touch จะน้อยลง
  • คนจะไม่สัมผัสกันโดยไม่จำเป็น
  • วัฒนธรรมในการทักทายของผู้คน โดยเฉพาะหลายๆ ชาติในตะวันตกที่เคยจับมือ สัมผัสตัวกัน จะเปลี่ยนแปลงไป

2.ธุรกิจ และ การตลาด

  • การตลาดแบบ experiential marketing หรือการตลาดที่เน้นเรื่องภาพลักษณ์ อาจได้รับความนิยมน้อยลง เนื่องจากคนพยายามเลี่ยงที่จะรวมกลุ่มกัน หรืออยู่ในที่ที่คนเยอะ ๆ พอคนไม่ค่อยออกสังคมมากเท่าเมื่อก่อน อาจทำให้มีความสนใจในเรื่องภาพลักษณ์ลดลงไปด้วย
  • คนจะหันมาให้ความสำคัญในความมั่นคงทั้งทางสุขภาพและการเงินมากขึ้น การขายสินค้าหรือบริการต่าง ๆ แบบระยะยาวจะได้รับความนิยมมากขึ้น
  • ภาคธุรกิจจะขับเคลื่อนเข้าสู่ Digital Transformation ที่จับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรมและรวดเร็วยิ่งขึ้น
  • การส่งสินค้าจะทำได้ยากขึ้นกว่าเดิม การรักษาความปลอดภัยในการเดินทาง การข้ามเขตแดนจะเข้มงวดขึ้น มีการปฏิเสธไม่รับสินค้าจากบางประเทศโดยไม่ถูกมองว่าเป็นการกีดกันทาง การค้า แต่มองว่าเป็นความปลอดภัยในสินค้า
  • การบริโภคภายในประเทศ หรือ Domestic Consumption จะเพิ่มขึ้น คนจะหันมาสนับสนุน product ในประเทศมากขึ้น

3.การใช้ชีวิต

  • ดิจิทัลจะกลายเป็นความสำคัญหลักในการดำรงชีวิต ไม่ใช่แค่คน Gen C แต่คือคนทุกรุ่น ทุกวัย จะสามารถใช้งานดิจิทัลได้อย่างคุ้นเคย
  • เทคโนโลยีจะกลายเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน ทั้งการ work from home การสั่งอาหารเดลิเวอรี หรือการเรียนออนไลน์
  • คนมีการแบ่งฝักฝ่าย มีการเลือกปฏิบัติมากขึ้น ด้วยเหตุผลทางด้านความปลอดภัย หรือการคำนึงถึงสุขอนามัย

ไม่ว่าอะไรจะเปลี่ยนไป แต่สิ่งหนึ่งที่พี่ Tony เชื่อเสมอคือ การศึกษานอกห้องเรียนสำคัญพอๆ กับการศึกษาในห้องเรียน ดังนั้น หลังสถานการณ์โควิด-19 จบลง ผู้ปกครองและนักเรียน ยังคงเห็นถึงความสำคัญของการเรียนภาษา และการหาประสบการณ์การใช้ชีวิตในต่างประเทศ น้องๆ ที่สนใจอยากไปเรียนต่อต่างประเทศ ติดต่อมาพูดคุย ขอคำปรึกษาจากพี่ๆ Tony ได้เลยนะ พอทุกอย่างเป็นปกติแล้ว เราจะได้เดินทางไปเรียนต่างประเทศกัน

Credit : https://www.secnia.go.th/

ติดต่อเรา

อาคารเดอะเทรนดี้
ห้อง 2202A เลขที่ 10/175
ซอย สุขุมวิท 13
แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา
กรุงเทพมหานคร 10110

+66(0)93-236-4553

info@tonyeducation.com

เวลาทำการ :
จันทร์-ศุกร์
09.00 – 18.00 น.

บริการสำหรับนักเรียนไทย

  • โครงการทุนนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ประเทศอเมริกา
  • เรียนซัมเมอร์ต่างประเทศ
  • ทัศนศึกษาต่างประเทศ
  • เรียนซัมเมอร์ในโรงเรียนมัธยม
  • เรียนภาษาต่างประเทศ
  • เรียนต่อมัธยมต่างประเทศ
  • เรียนต่อมหาวิทยาลัยต่างประเทศ

บริการสำหรับต่างชาติ

  • เรียนซัมเมอร์ในประเทศไทย
  • นักเรียนแลกเปลี่ยนในประเทศไทย
  • เรียนต่อมัธยมในประเทศไทย
  • เรียนต่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
  • แก๊ปเยียร์ในประเทศไทย

ติดตามข่าวสาร

top
© Tony Education 2019 -