
สาขาวิศวกรรมศาตร์ ได้ชื่อว่าเป็นสายงานอนาคตดี และน้องๆ ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ ในการสมัครเข้าเรียนต่อ ซึ่งมหาวิทยาลัยทั่วประเทศต่างก็มีหลักสูตรเปิดมารองรับความต้องการของตลาดงานและผู้เรียนมากมาย
แต่นอกจากหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ภาคภาษาไทยแล้ว มหาวิทยาลัยต่างๆ เริ่มเปิดหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ (inter) มากขึ้น เพื่อรองรับความต้องการของเทรนด์ตลาดโลก และตอบโจทย์บริษัทต่างๆ ที่ต้องการวิศวกรที่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษ และค่าใช้จ่ายน้อยกว่าไปเรียนต่างประเทศด้วย
ศึกษา Requirement
อันดับแรก น้องๆจำเป็นต้องทราบข้อมูลก่อนว่า มีมหาวิทยาลัยไหนบ้าง ที่เปิดสอนในหลักสูตรที่น้องสนใจ เพราะหลายที่ก็เปิดสอนในสาขาวิชาที่แตกต่างกัน ซึ่งน้องอาจต้องประเมินจากทักษะและความสนใจของตัวเองก่อน โดยเริ่มจากการค้นหาข้อมูลทางออนไลน์ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ ตลอดจนเข้าร่วมงาน Open House หรือกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสในการทำงาน อาชีพในอนาคต ตลอดจนค่าเทอมของมหาวิทยาลัยที่น้องสนใจ
ทีนี้ เรามาดูกันดีกว่าว่า มหาวิทยาลัยในไทยเรามี หลักสูตรวิศวะ อินเตอร์ เปิดสอนที่ไหนและสาขาอะไรกันบ้าง
1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีสาขา
- วิศวกรรมนาโน
- วิศวกรรมอากาศยาน
- วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร
- วิศวกรรมการออกแบบและผลิตยานยนต์
2. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรม ( TEP-TEPE) มีสาขา
- วิศวกรรมโยธา
- วิศวกรรมเคมี
- วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
- วิศวกรรมอุตสาหการ
- วิศวกรรมเครื่องกล
- วิศวกรรมยานยนต์
3. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีสาขา
- วิศวกรรมเครื่องกล
- วิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต
- วิศวกรรมซอฟต์แวร์และความรู้
- วิศวกรรมอุตสาหการ
4. มหาวิทยาลัยมหิดล มีสาขา
- วิศวกรรมเคมี
- วิศวกรรมชีวการแพทย์
- วิศวกรรมอุตสาหการ
- วิศวกรรมอุตสาหการ (เอกวิศวกรรมผลิตภัณฑ์นมและเครื่องดื่ม)
5. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีสาขา
- วิศวกรรมนวัตกรรมคอมพิวเตอร์
- วิศวกรรมเคมี
- วิศวกรรมโยธาและโครงสร้าง
- วิศวกรรมอุสาหการและระบบบริหารจัดการ
- วิศวกรรมชีวการแพทย์
- วิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
6. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีสาขา
- วิศวกรรมเครื่องกล
- วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
7. มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีสาขา
- วิศวกรรมโทรคมนาคม
- วิศวกรรมโลจิสติกส์
- วิศวกรรมเคมี
- วิศวกรรมสื่อดิจิทัล
8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีสาขา
- วิศวกรรมเครื่องกล
- วิศวกรรมโยธา
- วิศวกรรมปิโตรเคมีและพอลิเมอร์
- วิศวกรรมนวัตกรรมและการออกแบบวัสดุ
9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีสาขา
- วิศวกรรมเคมี
- วิศวกรรมโยธา
- วิศวกรรมอัตโนมัติ
- วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์
- วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
10. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีสาขา
- สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า (สองภาษา)
- สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (สองภาษา)
- สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (นานาชาติ)
- สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุเชิงนวัตกรรม (นานาชาติ)
- สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ (นานาชาติ)
- สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (นานาชาติ)
อยากเข้าวิศวะอินเตอร์ ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?
พี่ Tony ได้รวบรวมข้อมูล และสิ่งที่น้องๆ ว่าที่วิศวะอินเตอร์ ทุกคนควรรู้ เพื่อจะได้เริ่มเตรียมตัววางแผนอ่านหนังสือ และพิชิต Perfect Score มาให้แล้ว
การสอบเข้าคณะวิศวะ อินเตอร์ โดยทั่วไปแล้วจะต้องเตรียมตัว 3 กลุ่มวิชาหลักๆ คือ
1. Math Test
ในกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ น้องๆ สามารถเลือกสอบเป็น SAT Math หรือ CU-AAT ก็ได้
- SAT Math ข้อสอบจะค่อนข้างง่าย แต่ต้องทำเร็วและห้ามพลาด! ดังนั้นเทคนิคต่างๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็น พื้นฐานต้องแน่น ศัพท์ต้องเป๊ะ น้องๆ จะมามัวทำเรื่อยๆ ช้าๆ ทีละขั้นตอน อ่านโจทย์ทีละบรรทัด อาจทำให้ทำไม่ทัน เสียไปหลายคะแนนแน่นอน ดังนั้น น้องๆ ควรฝึกทำข้อสอบตะลุยโจทย์เยอะๆ ปิดจุดอ่อน เพิ่มเทคนิค ฝึกทำโจทย์ยากของทุกบท และฝึกทำ speed test เพื่อเพิ่มความเร็วให้น้องๆ ไม่มีปัญหากับการทำข้อสอบไม่ทันอีกต่อไป สามารถคว้า 800 เต็มมาได้สบายๆ
- CU-AAT Math ข้อสอบจะยากขึ้นมาหน่อย เหมาะกับน้องที่ไม่ถนัดภาษาอังกฤษมาก เพราะในพาร์ทภาษาอังกฤษจะง่ายกว่าข้อสอบ SAT หรือน้องที่เรียนโรงเรียนไทย ที่เรียนคณิตศาสตร์มาอย่างเข้มข้นอยู่แล้ว และยังเป็นการเพิ่มโอกาส ในกรณีที่สนามสอบหรือรอบสอบ SAT ที่มี ไม่ตรงกับความต้องการได้อีกด้วย และที่สำคัญหากน้องๆ เลือกใช้คะแนน CU-AAT ยื่นแล้ว น้องๆ จะไม่ต้องสอบ SAT Math LVll (ซึ่งอยู่ในข้อถัดไป) อีกด้วย เรียกได้ว่า สอบเลขตัวนี้ตัวเดียวจบ
2. SAT Subject Test
น้องๆ จะต้องสอบข้อสอบ SAT Subject Test ใน 3 วิชา คือ
- SAT Subject Test Chemistry
- SAT Subject Test Math LVll
- SAT Subject Test Physics
ข้อสอบอยู่ในระดับที่ยากกว่า SAT Math แต่ต้องอาศัยความเร็วและเทคนิคเหมือนกัน แนะนำให้ฝึกทำโจทย์เยอะๆ จนคุ้นมือ เต็ม 800 แน่นอน
3. English Proficiency Tests
การทดสอบทางด้านภาษาอังกฤษ น้องๆสามารถเลือกสอบข้อสอบภาษาอังกฤษประเภทใดก็ได้ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ประเภทที่ฮิตกันมากที่สุด คงหนีไม่พ้น IELTS และ CU-TEP
- IELTS ข้อสอบภาษาอังกฤษ ที่ใช้สอบเข้ามหาวิทยาลัยภาคอินเตอร์ได้เกือบทุกคณะในประเทศ รวมถึงการเรียนต่อต่างประเทศด้วย จึงทำให้เป็นประเภทข้อสอบที่เด็กเลือกใช้มากที่สุด ข้อสอบ IELTS ประกอบไปด้วย 4 Parts ได้แก่ Listening, Reading, Writing และ Speaking แต่ละพาร์ท มีความยากที่แตกต่างกัน
- CU-TEP สำหรับข้อสอบ CU-TEP เหมาะสำหรับน้องที่แม่นแกรมม่า หรือเรียนภาษาอังกฤษมาจากโรงเรียนไทยที่เน้นแกรมม่าเยอะๆ และตั้งใจยื่นคะแนนเข้าคณะอินเตอร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบางคณะของมหาวิทยาลัยอื่นเช่น แพทย์ฯ มข. และ แพทย์ มช. ที่รับคะแนน CU-TEP
(บางคณะเท่านั้นที่ใช้คะแนน CU-TEP Speaking เช่น MED CU, BBA CU, JIPP CU เป็นต้น แนะนำให้น้องๆ เช็ค Requirement ของคณะที่น้องต้องการเข้าก่อนว่าใช้คะแนน speaking หรือไม่?)
อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนคงคิดว่า มันเยอะมาก!! แต่เชื่อมั้ยว่า น้องๆ สามารถเตรียมทั้งหมดนี้ได้ในเวลาเพียงไม่กี่เดือน ขึ้นอยู่กับการวางแผนการเรียน ถ้ามีวินัยพอ คณะในฝันก็อยู่ไม่เกือนเอื้อมแน่นอน แต่ถ้าน้องๆ ต้องการที่ปรึกษา สามารถติดต่อพี่ๆ Tony มาได้เลยนะคะ ยินดีให้คำแนะนำและดูแล โดยไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ ^^
Ref : https://www.ignitebyondemand.com/how-to-เตรียมตัว-วิศวะอินเตอร/, https://www.ignitebyondemand.com/สอบเข้า-วิศวะอินเตอร์/, https://www.admissionpremium.com/engineer/news/4563